หมวดวิชาเฉพาะ
กลุ่มวิชาชีพบังคับ 31 หน่วยกิต ให้ศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้
ความสำคัญของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย ประเภทของอุตสาหกรรมอาหารการขยายตัวและแนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหาร การเยี่ยมชมและศึกษาดูงานโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร กิจกรรมถอดบทเรียนการดูงานของนักศึกษา
อุปสงค์และอุปทานของสินค้าเกษตรและอาหาร โครงสร้างต้นทุนและหลักการบัญชีสูตรดอกเบี้ย ค่าของเงินตามเวลา ตลาดและการกำหนดราคาของสินค้าอาหาร การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์เพื่อการตัดสินใจในการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาหาร การวิเคราะห์การทดแทน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ค่าเสื่อมราคาและการพิจารณาภาษีเงินได้
องค์ประกอบและคุณสมบัติทางเคมีของอาหาร น้ำ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และรงควัตถุ การวอเคราะห์องค์ประกอบของอาหาร การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและชีวเคมีขององค์ประกอบอาหาร กลไกของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในอาหาร เคมีของสารปรุงแต่ง สี กลิ่น และรสในอาหาร
การใช้จุลินทรีย์ในอุตสาหกรรมอาหาร ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการตายของจุลินทรีย์ในกระบวนการของอุตสาหกรรมอาหาร การเน่าเสียจากจุลินทรีย์ในอาหาร จุลินทรีย์ก่อโรคในอาหาร การควบคุมจุลินทรีย์ในอาหาร เทคนิคการตรวจหาจุลินทรีย์ในอาหารสำหรับอุตสหกรรมอาหารสมัยใหม่ สุขาภิบาลอาหารและความปลอดภัยของอาหาร
หลักการและเครื่องมือในการแปรรูปอาหาร การแช่เย็น การแช่แข็ง การหมัก การทำให้เข้มข้น การรมควัน การแปรรูปขั้นต่ำ เฮอเดิลเทคโนโลยี การใช้วัตถุเจือปนอาหาร เทคโนโลยีใหม่ในการแปรรูปอาหาร ปัจจัยการแปรรูปต่อคุณภาพและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ บรรจุ กระบวนการปลอดเชื้อ การประเมินอายุการเก็บรักษาของอาหารเทคโนโลยีสะอาด ผลิตผลพลอยได้และการใช้ประโยชน์จากของเสีย การศึกษาดูงานนอกสถานที่
ความรู้และหลักการพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม หน่วยและมิติ การสกัด การผสม การคัดแยก การลดขนาด การกลั่น การระเหย การกรอง การดันผ่านเกลียวอัด กลศาสตร์ของไหล เครื่องกำเนิดไอน้ำ ระบบการทำความเย็น แผนภูมิความชื้น สมดุลมวลสาร สมดุลพลังงาน การถ่ายโอนความร้อน และการถ่ายโอนมวล
แนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหาร ห่วงโซ่คุณค่าในอุตสาหกรรมอาหาร ธุรกิจเกิดใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหาร ความเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร กฎหมายอาหาร ข้อบังคับอาหาร การนำเสนอแนวคิดในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมอาหารของนักศึกษา
การวิเคราะห์แนวโน้มของอุตสาหกรรมอาหาร (ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ และการบริการ) การวิเคราะห์ตลาดของอุตสาหกรรมอาหาร การวิเคราะห์โมเดลธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร การออกแบบโครงสร้างต้นทุน การนำเสนอแนวคิดนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารของนักศึกษา
บทบาท ความหมาย และความสำคัญของธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม แนวคิดในการประกอบธุรกิจ การวิเคราะห์แนวโน้ม โอกาสทางธุรกิจ และกลยุทธิ์ในธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร แนวทางการจัดตั้งธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม การจัดการตลาด การจัดหาเงินทุนและการระดมทุน การบริหารการเงินและการบัญชี การผลิตและการดำเนินการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การบริหารความเสี่ยง ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารเชิงนวัตกรรม แผนธุรกิจเชิงนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
ตลาดของอุตสาหกรรมอาหาร หลักการและการวางแผนการตลาดเบื้องต้น กลยุทธิ์ทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร เทคนิคการตั้งราคา ตราสินค้าและการออกแบบกระบวนการสร้างตราสินค้าและกลยุทธิ์ธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์อาหาร การสื่อสาร การตลาดแบบบูรณาการเพื่อเพิ่มมูลค่าตราสินค่า การประเมินประสิทธิภาพตราสินค้า
การมองเห็นปัญหา การตั้งคำถามงานวิจัย การทบทวนวรรณกรรม การตั้งสมมติฐาน การออกแบบการศึกษาและการทดลอง การเขียนเค้าโครงงานวิจัย การดำเนินงานวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร การวิเคราะห์ผลการทดลอง การอภิปรายผลการทดลอง การนำเสนอผลงานวิจัย
การพัฒนาทักษะตามชุดรายวิชาที่นักศึกษาเลือกในสถานประกอบการ เช่น ทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทักษะการควบคุมระบบประกันคุณภาพ ทักษะการพัฒนาเครื่องจักรระบบอัตโนมัติ และ ทักษะการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นต้น โดยเน้นพัฒนาทักษะปฏิบัติ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และทักษะการตัดสินใจในสถานปฏิบัติงานจริง