กลุ่มวิชาชีพเลือก

หมวดวิชาเฉพาะ

กลุ่มวิชาชีพเลือก 24 หน่วยกิต ให้ศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้


ให้เลือกศึกษาจากชุดวิชาต่อไปนี้ ไม่น้อยกว่า 2 ชุดรายวิชา
1) ชุดวิชาการพัฒนานวัตกรรมอาหารอนาคต
ความหมาย บทบาท และความสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพ แนวคิดการพัฒนาอาหารอนาคต อาหารเกษตรอินทรีย์ อาหารและเครื่องดื่มฟังก์ชัน อาหารทางการแพทย์ อาหารใหม่ที่เกิดจากนวัตกรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง การกล่าวอ้างทางสุขภาพ
อาหารอนาคต หลักการการผลิตอาหารอนาคต เทคโนโลยีการผลิตแบบใช้และไม่ใช้ความร้อน เทคโนโลยีการหมักสมัยใหม่และเทคนิคทางชีวโมเลกุลเทคโนโลยีการสกัด เทคโนโลยีการทำให้เข้มข้นและทำให้เข้มข้นและทำให้บริสุทธิ์ เทคโนโลยีการทำให้เป็นผง
หลักการ ความสำคัญ และหน้าที่ของบรรจุภัณฑ์อาหาร ความปลอดภัยของบรรจุภัณฑ์อาหารอาหาร กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีการบรรจุภัณฑ์อาหาร บรรจุภัณฑ์สำหรับไมโครเวฟ บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การทดสอบคุณภาพบรรจุภัณฑ์อาหาร การหาอายุการเก็บของอาหารในบรรจุภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์อาหารอนาคต
การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร สถิติและการวางแผนการทดลองสำหรับอาหารอนาคตเทคนิค และวิธีการพัฒนาสำหรับนวัตกรรมอาหารอนาคต การวิเคราะห์และสรุปผล การวางแผนและต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
2) ชุดวิชาอาหารปลอดภัยและการควบคุมระบบประกันคุณภาพ
ความสำคัญของกฎหมาย ข้อกำหนดในอุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานของอาหารระดับประเทศและสากล พระราชบัญญัติอาหาร กฎหมายควบคุมการประกอบการกิจการโรงงานอุตสาหกรรม การจดทะเบียนอาหาร การแสดงฉากและการโฆษณาอาหารกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย การขออนุญาตประกอบกิจการอุตสาหกรรมอาหาร ข้อกำหนดทางการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายและระเบียบระดับสากล
ความปลอดภัยในอุตสาหกรรมอาหาร ระบบความปลอดภัย การสุขาภิบาลและวิธีการมาตรฐาน การวางผังโรงงานและออกแบบ การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อโปรแกรมความปลอดภัยใน อุตสาหกรรมอาหาร การตรวจสอบความปลอดภัย การวิเคราะห์ความปลอดภัย การอบรมและรณรงค์ในการทำงาน
ความสำคัญของการควบคุมคุณภาพ หลักการควบคุมคุณภาพ ปัจจัยคุณภาพ การตรวจวัดคุณภาพอาหาร ระบบการควบคุมคุณภาพ สถิติในการควบคุมคุณภาพ การใช้ประสาทสัมผัสในการควบคุมคุณภาพ
หลักการคุณภาพ ความหมายและความสำคัญของคุณภาพ ระบบคุณภาพ การควบคุมคุณภาพและกราประกันคุณภาพ การตรวจจับคุณภาพทางกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยา สถิติสำหรับการควบคุมคุณภาพ หลักการจัดองค์กรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ มาตรฐานระบบคุณภาพ
3) ชุดวิชาระบบเครื่องจักรอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร
ความสำคัญของปัญญาประดิษฐ์ในอุตสาหกรรม ภาพรวมและพัฒนาการของปัญญาประดิษฐ์ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์และการพัฒนาเชิงกลยุทธิ์ในอุตสหกรรมอาหาร ข้อจำกัดและการจัดการความเสี่ยงของปัญญาประดิษฐ์ เป้าหมายการพัฒนาของโครงงานด้านปัญญาประดิษฐ์และการเรียนเรียนรู้ของเครื่องจักรสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร การพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์สำหรับอุต สาหกรรมอาหาร
แนะนำเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ การแก้ปัญหาโดยใช้เทคนิคปัญญาประดิษฐ์ การเขียนโปรแกรมสำหรับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของ เครื่องจักรสำหรับงานในอุตสาหกรรมอาหาร เทคนิคปัญญาประดิษฐ์ ได้แก่ การใช้เหตุผลในทางสัญลักษณ์เหตุผลทางสถิติ การวางแผน ปัญญาประดิษฐ์แบบขนานและแบบกระจาย เครือข่ายเบยส์เซียน การเรียนรู้โดยใช้ต้นไม้การตัดสินใจ โครงข่ายประสาทเทียม การประเมินสมมติฐาน การเรียนรู้เฉพาะหน้า วิธีเชิงพันธุกรรม การเรียนรู้แบบวิเคราะห์ การเรียนรู้แบบเสริมบังคับ
ระบบอัตโนมัติกับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องจักรระบบเครื่องอัตโนมัติในอุตสาหกรรมอาหารเซนเซอร์ระบบสำหรับอัตโนมัติ อุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมเครื่องจักรอัตโนมัติ ระบบนิวแมติกส์ ระบบไฮดรอลิกส์และระบบไฟฟ้า การออกแบบการวางระบบอัตโนมัติเบื้องต้น
เครื่องจักรในอุตสาหกรรมอาหาร ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหาร การเสื่อมสภาพและการขัดข้องของเครื่องจักร การบำรุงรักษาระบบอัตโนมัติ ระบบนิวแมติกส์ ระบบไฮดรอลิกส์ และระบบเซ็นเซอร์ การบำรุงรักษาเชิงวางแผน การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน การบำรุงรักษาทวีพล
4) ชุดวิชาการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร
ขอบเขต ความหมาย บทบาทของการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ในอุตสาห กรรมอาหาร การจัดหาวัตถุดิบและกลยุทธิ์ การบริการลูกค้า การบริการสินค้าคงคลังและการคลังสินค้า การขนส่งสินค้าเกษตรและอาหาร เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติก ส์ในอุตสาหกรรมอาหาร ห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
หลักการวางแผนกำลังคนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร วิธีการพยากรณ์กำลังคน การคำนวณต้นทุนของกำลังคน การวิเคราะห์งาน การสรรหาและคัดเลือกกำลังคนสำหรับอุตสาหกรรมอาหาร การพัฒนาบุคลากร การประเมินสมรรถนะ ระบบค่าแรงจูงใจ ความปลอดภัยในโรงงานอาหาร
ทรัพยากรข้อมูล หลักการและโครงสร้างของระบบสารสนเทศ บทบาทของสารสนเทศในอุตสาหกรรมอาหาร การจัดการทรัพยากรข้อมูล การใช้ระบบสารสนเทศในอุตสาหกรรมอาหาร การจัดการข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการวางแผนและการตัดสินใจ การจัดการระบบฐานความรู้
หลักการ การวางแผน การวิจัย การจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหาร การจัดการความรู้ แนวโน้มและการประยุกต์นวัตกรรมทางธุรกิจในอุตสาหกรรม อาหาร